วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่

การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่


การแจ้งเกิด คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่ เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบ หมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือหนังสือมอบ หมายกรณีได้รับมอบหมาย

คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งคนเกิดโรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านโรงพยาบาลซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ใดก็ตามที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านโรงพยาบาลนั้น เป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในโรงพยาบาล ในกรณีไม่อาจแจ้งการเกิดด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปดำเนินการแจ้งการเกิดแทนก็ได้ เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการ เกิดและเพิ่มชื่อเด็กที่เกิดในทะเบียนบ้านของโรงพยาบาลแล้ว เจ้าบ้านโรงพยาบาล หรือผู้ได้รับมอบหมายจะแจ้งการย้ายที่อยู่ของเด็กที่เกิดออกจากโรงพยาบาลแล้วมอบสูติบัตร และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้แก่ บิดา-มารดาเด็ก เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าต่อไป
การแจ้งเกิดเกินกำหนด 
- เปรียบเทียบคดีความผิด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐานดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวฯ บิดา-มารดา (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
- สอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา
- พยานแวดล้อมกรณี
- ฯลฯ

เด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำเด็กนั้นไปส่ง และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่ตนพบเด็กนั้นโดยเร็ว
- เจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ได้รับตัวเด็กไว้ แล้วแจ้งการมีคนเกิดต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง โดยใช้หลักฐานดังนี้
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของสถานสงเคราะห์และบันทึกการ รับตัวเด็ก
- สอบสวนผู้แจ้ง และผู้ปกครองสถานสงเคราะห์

การแจ้งเกิดในต่างประเทศ กรณีที่คนไทยเกิดในต่างประเทศ บิดา-มารดาจะต้องแจ้งการเกิดของบุตรต่อ กงสุลไทยหรือเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ ประเทศนั้น ๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด เมื่อได้รับการแจ้งเกิดแล้วเจ้าหน้าที่สถานกงสุล หรือสถานทูตไทยจะออกสูติบัตรให้บิดา-มารดาเด็ก เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็กเพื่อเดินทางกลับ ประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ ให้ใช้หลักฐานการเกิดที่ออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานสูติบัตรได้
การแก้ไขรายการในสูติบัตร
ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียน ที่ผู้เกิดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 


การแจ้งตาย คนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้ง

กรณีตายด้วยโรคหรือชราภาพ ใช้หลักฐาน
- หนังสือรับรองการตายจากแพทย์ ใบประกอบโรคศิลป์และบัตรประจำตัวของแพทย์ (กรณีมีแพทย์รักษาก่อนตาย)
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)

กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง ใช้หลักฐาน
- ให้ผู้แจ้งแจ้งต่อสถานีตำรวจ ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง
- สถานีตำรวจจะส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา เพื่อหาสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตายจากสถาบันฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)
- ไม่แจ้งตายภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


กรณีตายในโรงพยาบาลใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หนังสือรับรองการตาย
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีคนตายมีชื่อ (คนในพื้นที่ตายในโรงพยาบาล)
- นำหลักฐานไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่

คนตายนอกบ้าน
- ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณีหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจก็ได้
- บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก
- แจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือพบศพ
- ไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา 
หมายถึงการที่ไม่ได้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งตายนำหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการตายไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย
- นายทะเบียนจะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- นายทะเบียนจะสอบสวนพยานบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณา รับแจ้งตายเกินกำหนด
การแจ้งตายในการประสบอุบัติเหต
- ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พลศพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตาย หรือพบศพก่อนหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพื่อออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
- นำศพส่งสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตาย
- นำหลักฐานใบแจ้งการตาย และใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจไปแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่พบศพ เพื่อประกอบหลักฐานออกใบมรณบัตร ต่อไป

การแจ้งตายในต่างประเทศ 
- กรณีคนไทยไปตายในต่างประเทศ ให้ผู้รู้เห็นการตายไปแจ้งตาย ณ สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
- ในกรณีที่ซึ่งมีการตายไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ให้ใช้หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของ ประเทศนั้น ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานมรณบัตรได้

การเก็บ ฝัง เผา ทำลาย และย้ายศพไปจากสถานที่หรือบ้านที่มีการตาย
เมื่อนายทะเบียนได้ออกบัตรให้กับผู้แจ้งไปแล้ว โดยได้กรอกข้อความลงในช่องจัดการศพโดย เก็บ ฝังหรือเผา ณ สถานที่ใดเมื่อใด ต่อมาต้องการจะเปลี่ยนแปลงใหม่ให้ดำเนินการดังนี้.
หากจะจัดการศพผิดไปจากที่ได้เคยแจ้งไว้ โดยมิได้ย้ายศพไปต่างท้องที่ ให้ผู้แจ้งดำเนินการดังนี้.
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งจะสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บ ฝังหรือเผา เป็นการเก็บ ฝังหรือเผา ที่วัดใด เมื่อใดไว้ด้านล่างมรณบัตรตอนที่ 1
หากจะทำการย้ายศพเพื่อจะไปเก็บ หรือฝังในสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมิใช่สถานที่เดิมที่แจ้งไว้ในกรณีนี้ต้องดำเนินการดังนี้.
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตรตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตให้ เก็บฝังจากสถานที่ใดไปสถานที่ใดเมื่อใด
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่จะย้ายศพเข้าไปดำเนินการใหม่เพื่อให้นาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ใหม่ได้สอบสวน และบันทึกการอนุญาตไว้ด้านล่าง มรณบัตร ตอนที่ 1 นั้น
- ถ้าเป็นกรณีที่มีข้อความอนุญาตหลายครั้งในฉบับเดียวกันให้ถือข้อความอนุญาตครั้งหลังสุดเป็นหลัก

การขอแก้ไขรายการในมรณบัตร 
- ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียนที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน


การย้ายที่อยู่ ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง (พิจารณาจากทะเบียนบ้านว่าได้มีการระบุให้ผู้ใดเป็นเจ้าบ้าน) ผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้าน ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การย้ายออก
กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หนักงานองค์การของรัฐ)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
- ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1. แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ปรากฎข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน

การแจ้งย้ายออกโดยไม่ทราบที่อยู่ (ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางของเขต)
เจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นใครหรือไปอยู่ที่ใด ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 30 วัน นับแต่วันครบ 180 วันโดยไม่ทราบที่อยู่ โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวหรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
-ในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้มาดำเนินการแทน

การย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ (ถูกย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง) ประสงค์ที่จะย้ายออก (ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียน ที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียน บ้านได้ บุคคลที่มีรายการในทะเบียนบ้านกลางไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดและให้นายทะเบียนรับรองสำเนารายการ เพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่าง ๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้)
กรณีผู้ร้อง (เจ้าตัว) มาดำเนินการเอง 
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หรือ พนักงานองค์การของรัฐ
- ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย ต้องมีใบแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความพร้อมทั้งหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายมาแสดงด้วยอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น
- ใบสุทธิ หรือใบ ร.บ. หรือปริญญาบัตร
- ใบอนุญาตขับขี่ฯ
- บัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา
- ส.ด.8, ส.ด.43
- หนังสือเดินทาง
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการย้าย
- หนังสือมอบหมายของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการย้ายออก

กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ 
- สูติบัตร
- บิดา หรือมารดาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเองพร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย
-กรณีไม่ปรากฏตามที่กล่าว ต้องดำเนินการสอบปากคำผู้มาแจ้งย้ายด้วย
- กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดง

การย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
- เช่นเดียวกับการย้ายออก กรณีที่บุคคลเดินทางกลับจากต่างประเทศ - ผู้ย้ายที่อยู่ไปต่างประเทศตามระเบียบเดิมได้นำใบแจ้งการย้ายที่ อยู่มาขอย้ายเข้า นายทะเบียนจะดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้า หากเป็นใบแจ้งย้ายมีรหัสประจำตัว ประชาชนแล้ว นำใบแจ้งย้ายไปแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าที่สำนักทะเบียนใดก็ได้ และหากเป็นใบแจ้งย้ายแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน จะดำเนินการเพิ่มชื่อกรณีการใช้หลักฐานใบแจ้งย้ายที่อยู่แบบเดิม
- บัตรประจำตัว (ถ้ามี)
- หนังสือเดินทางที่มีตราประทับลงตราวีซ่าเข้ามาในประเทศไทย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ย้ายไปต่างประเทศตามระเบียบเดิม) หากสูญหายจะต้องแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความเพื่อขอออกใบแทนใบ แจ้งย้ายและเพิ่มชื่อให้ กรณีเช่นนี้จะต้องมีการสอบปากคำเจ้าบ้านและผู้ร้อง

การย้ายเข้า 
- ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง 
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
- ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน 1 และ 2 ตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า
ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ให้ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
กฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ย้ายที่อยู่ หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะต้องมี หนังสือมอบหมาย ปรากฎข้อความชัดเจนว่าบุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่บุคคลใดบ้าง ย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง 
- บัตรประจำตัวของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- คำยินยอมของเจ้าบ้านเป็นหนังสือ
-เ สียค่าธรรมเนียม 5 บาท

ใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
กรณีสูญหาย ให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความ กรณีชำรุด ผู้แจ้งจะต้องนำใบแจ้งการย้ายที่ชำรุดมาคืนด้วย หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

หมายเหตุ
การติดต่อฝ่ายทะเบียนทุกครั้ง อย่าลืม "สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน"


***ที่มา

           http://www.lawyerthai.com/articles/people/009.php

ความรู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั่งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)
    
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลจากความขัดแย้งของประชาชาติต่าง ๆที่เกิดขึ้นสะสมมาก่อนเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 อันเนื่องมาจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจเงื่อนไขหรือข้อบังคับบทลงโทษตามสนธิสัญญาสันติภาพและความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ

สาเหตุของสงคราม

1. สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม ข้อบกพร่องของสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากประเทศชนะสงครามและประเทศที่แพ้้สงครามต่างก็ไม่พอใจในข้อตกลงเพราะสูญเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะสนธิ ิสัญญาแวร์ซายส์ที่เยอรมันไม่พอใจในสภาพที่ตนต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญา   2. ลัทธิชาตินิยม ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซาย ทำให้ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำเยอรมนีหันไปใช้ลัทธินาซี เพื่อสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับ เบนีโต มุสโสลีนี (BenitoMussolini)ผู้นำอิตาลีหันไปใช้ลัทธิฟาสซิสต์์ส่วนญี่ปุ่นต้องการสร้างวงศ์ไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพา เพื่อเป็นผู้นำในเอเชียนอกจากนี้ยังเกิดทฤษฎีชาตินิยมในเยอรมนีว่าด้วยความเหนือกว่าในทางเผ่าพันธุ์ ที่ทำให้ฮิตเลอร์ใช้นโยบายกวาดล้างชาวยิวในดินแดนยึดครองต่าง ๆ
3. ลัทธินิยมทางทหาร ได้แก่ การสะสมอาวุธเพื่อประสิทธิภาพของกองทัพ ทำให้้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศมากขึ้น และเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน  
4. นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษการใช้นโยบายออมชอมของอังกฤษเมื่อเยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยการเพิ่ม กำลังทหารและการรุกรานดินแดนต่าง ๆ  
5. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ระบอบเผด็จการเพื่อแก้ปัญหาภายใน เช่น เยอรมนีและอิตาลี นำไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศ
6. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ เนื่องจากไม่มีกองทัพขององค์การ ทำให้ขาดอำนาจในการปฏิบัติการและการที่อเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิกจึงทำให้องค์การสันนิบาตชาติเป็นเครื่องมือของประเทศที่ชนะใช้ลงโทษประเทศที่่แพ้สงคราม

ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2  

กองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1939เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่าดานซิกและฉนวนโปแลนด์ให้เยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งทำสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์ได้ยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ ดังนั้น ในวันที่ 3 กันยายนค.ศ. 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีการแบ่งกลุ่มของประเทศคู่สงคราม ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ฝ่ายพันธมิตรได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย  

เมื่อเริ่มสงคราม สหรัฐอเมริกาวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941สหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2กับอังกฤษและฝรั่งเศส ฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะในที่สุดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945การรบในแปซิฟิก ญี่ปุ่นเป็นคู่สงครามกับสหรัฐอเมริกาฝ่ายพันธมิตรยุติสงครามโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกชื่อลิตเติลบอยที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 และลูกที่ 2 ชื่อแฟตแมนที่เมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945 และวันที่ 14 สิงหาคม1945 ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้การที่ชาวไทยส่วนหนึ่งได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement)ดำเนินการร่วมมือและช่วยเหลือฝ่ายพันธมิตรไทยจึงรอดพ้นจากการเป็นฝ่ายผู้แพ้สงคราม


ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายพันธมิตรชนะ    
แต่การนำอาวุธที่มีอานุภาพและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 หลายเท่า เช่น  
1. ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยสงครามอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เป็นโรคจิต โรคระบาด ขาดอาหาร หายสาบสูญ เป็นต้น  
2. ด้านการเมือง ประเทศผู้แพ้สงครามต้องเสียเกียรติภูมิ ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม และต้องยังยินยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ฝ่ายชนะสงครามวางเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม ดังนี้  
          เยอรมนี  พันธมิตรได้จัดการกับเยอรมนีในฐานะเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดสงครามดังนี้
1. เยอรมนีต้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ให้อยู่ในความดูแลของสหภาพโซเวียต อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ประเทศละส่วน
2. นครเบอร์ลิน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1871 เป็นเขตยึดครองของ 4 มหาอำนาจข้างต้น โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกัน
3. ห้ามเยอรมนีผลิตอาวุธสงคราม
4. การผลิตโลหะ เคมี และเครื่องจักรกลที่อาจใช้ในสงครามได้ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของมหาอำนาจทั้ง 4
5. ระบบนาซีทุกรูปแบบต้องยกเลิก  
          ญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นผู้ก่อและขยายสงครามในทวีปเอเชียนั้น ฝ่ายพันธมิตรมอบอำนาจให้สหรัฐอเมริกาจัดดำเนินการโดยลำพัง ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงได้ยึดครองญี่ปุ่นโดยมีนายพลดักลาส แมกอาเทอร์ (Douglas McArthur) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และให้ญี่ปุ่นปฏิบัติตามสนธิสัญญาโดยเคร่งครัด เช่นห้ามการมีกองทัพทหารและนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต้องยอมรับรัฐธรรมนูญที่สหรัฐอเมริการ่างให้ด้วย
3. ด้านเศรษฐกิจ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ริเริ่มสงครามและประเทศมหาอำนาจ ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากเพื่อการฝึก การบำรุงขวัญทหาร และเพื่อการผลิตอาวุธที่มีศักยภาพสูงและทันสมัยมีอาวุธบางชนิดที่ไม่เคยใช้ที่ใดมาก่อน เช่น เรดาร์ตรวจจับ เรือดำน้ำ เรือบรรทุกเครื่องบิน จรวด เครื่องบินชนิดต่าง ๆ ระเบิดปรมาณู เป็นต้น

ผลกระทบของสงคราม

1. การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
2. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม
3. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ
4. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
5. เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มระหว่างโลกเสรีประชาธิไตยกับโลกคอมมิวนิสต์

การประสานประโยชน์  

ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่นั้นทางฝ่ายพันธมิตรก็ได้ร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นที่ จะเผด็จศึกลงให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็วและพยายาม หาวิธีีป้องกันมิให้สงครามเกิดขึ้นอีก โดยได้ดำเนินเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้  
          วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) แห่งอังกฤษ และประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D.Roosevelt)แห่งสหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันประกาศ กฎบัตรแอตแลนติก (AtlanticCharter) บนเรือรบออกัสตา(Augusta) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจอดอยู่นอกฝั่งนิวฟันด์แลนด์เพื่อจะร่วมมือกันรักษาสันติภาพของโลก  
          วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ประเทศต่าง ๆ รวม 26ประเทศได้ให้คำรับรองต่อกฎบัตรแอตแลนติกซึ่งได้จัดตั้งเป็นองค์การหลักแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่จะรักษาสันติภาพ ของโลก ที่เรียกว่า สหประชาชาติ

*** ที่มา
               http://www.sb.ac.th/www_war/war2_1.htm
               http://www.sb.ac.th/www_war/war2_2.htm

ความรู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914 – 1918)     
     
สงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มใน ค.ศ. 1914 สิ้นสุดใน ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอำนาจ 2 กลุ่ม คือกลุ่มไตรภาคี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี กับกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียการรบเริ่มขึ้นภายหลังเหตุการณ์ลอบสังหารมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย –ฮังการีและสิ้นสุดลงด้วย ความพ่ายแพ้ของฝ่ายไตรภาคีหรือฝ่ายมหาอำนาจกลางมีการทำสนธิสัญญาแวร์ซาย บังคับให้เยอรมนีและพันธมิตรเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลและเสียดินแดนให้แก่ฝ่ายไตรพันธมิตร


สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

1. ลัทธิชาตินิยมใน ค.ศ. 1870 บิสมาร์กได้ดำเนินกุศโลบายจนเกิดสงครามฝรั่งเศส – ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) จากนั้นได้พยายามดำเนินนโยบายการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสปรัสเซียเป็นฝ่ายชนะ ฝรั่งเศสต้องยอมสูญเสียแคว้น อัลซาสและลอร์เรนการสงครามทำให้รัฐเยอรมันสามารถรวมตัวกัน และต่อมาสถาปนาเป็นจักรวรรดิเยอรมันทั้งนี้เพราะบิสมาร์กเชื่อมั่นว่า นโยบาย“เลือดและเหล็ก” เท่านั้นที่จะช่วยให้รัฐเยอรมันรวมกันเป็นประเทศได้
2. ลัทธิจักรวรรดินิยมอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศต่าง ๆ แสวงหาตลาดระบายสินค้าและแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมจึงก่อให้เกิด ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์
3. การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรปมหาอำนาจยุโรปมีความขัดแย้งกัน จึงจำเป็นต้องมีพันธมิตรไว้เป็นพวกทำให้มหาอำนาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
          1. กลุ่มไตรภาคี (Triple Alliance) ประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการีี และอิตาลี ต่อมาอิตาลีถอนตัว กลุ่มนี้เรียกว่า “กลุ่มมหาอำนาจกลาง” (Central Powers)
          2. กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียต่อมามีอิตาลีเข้าร่วมกลุ่มด้วยเรียกว่า “กลุ่มสัมพันธมิตร” (Allied Powers)
4. ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่านสาเหตุของปัญหาเกิดจากการพยายามรักษาอำนาจและอิทธิพลระหว่างออสเตรีย –ฮังการี กับรัสเซียโดยรัสเซียต้องการใช้คาบสมุทรบอลข่านเป็นทางออกสู่ทะเลทางใต้ของตนและ ต้องการขึ้นเป็นผู้นำของชนชาติสลาฟ (Slav)ในคาบสมุทรบอลข่านอันมีเชื้อสายเดียวกับรัสเซีย

ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1      

มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย – ฮังการี คือ อาร์ชดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์กับพระชายาเคาน์เตส โซเฟีย โชเทกซ์ ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 ที่เมืองซาราเจโว เมืองหลวงของบอสเนีย คนร้ายชื่อ กาฟริโล พรินซิปเป็นนักศึกษาชาวบอสเนีย สัญชาติเซอร์เบีย

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยฝ่ายเยอรมนีพ่ายแพ้ยอมยุติสงครามผลของสงครามได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ 2 ฝ่าย คือ
1. ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน ผู้บาดเจ็บและทุพพลภาพจำนวนมาก หลายคนเป็น โรคจิตที่เกิดจากการกลัวภัยสงครามอีกทั้งเกิดปัญหาชนพลัดถิ่น
2. ด้านการเมือง ประเทศมหาอำนาจเดิม ได้แก่เยอรมนี ออสเตรีย –ฮังการี และตุรกี เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะร่างขึ้น5 ฉบับ คือสนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี สนธิสัญญาแซงต์แยร์แมงทำกับออสเตรีย สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย สนธิสัญญาตริอานองทำกับฮังการี และสนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี(ต่อมาเกิดการปฏิวัติในตุรกีจึงมีการทำสนธิสัญญาใหม่เรียกว่า “สนธิสัญญาโลซานน์”) และยุโรปโดยรวมอ่อนแอลง  
3. ด้านเศรษฐกิจ สงครามครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในการผลิตอาวุธใหม่ ๆที่มีอำนาจทำลายล้างสูงกว่าการทำสงครามในอดีต เช่น รถถัง เรือดำน้ำ แก๊สพิษ ระเบิด เป็นต้น เพื่อหวังชัยชนะหลังสงครามสิ้นสุดฝ่ายแพ้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ส่วนฝ่ายชนะรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้ประสบภัยและบูรณะประเทศจนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

ผลกระทบของสงคราม  

1. ความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลางและความหายนะของมนุษยชาติทำให้ประเทศต่าง ๆ มีแนวคิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศ ด้วยสันติวิธีโดยการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น  
2. เกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ เช่น ลิทัวเนีย แลตเวีย เอสโทเนีย

การประสานประโยชน์หลังสงคราม    

สงครามโลกครั้งที่ 1 นำความสูญเสียมาให้ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะในด้านทรัพย์สินและชีวิต ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องหลังสงคราม ในด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง หากไม่หาหนทางขจัดหรือป้องกันสงครามครั้งใหม่ก็จะต้องเกิดขึ้นมาอีก ประเทศทั้งหลายต่างก็ตระหนักในปัญหานี้และพยายามหาช่องทางที่ี่จะไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำแนวความคิดที่จะสร้างองค์การ ระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทหรือความขัดแย้งโดยสันติ มากขึ้นด้วย

***ที่มา
               http://www.sb.ac.th/www_war/war1_1.htm
               http://www.sb.ac.th/www_war/war1_2.htm

ประวัติส่วนตัว



ชื่อนายศิวรุต  บุญเชิญ  โปรแกรมสังคมศึกษา ปี 3 ห้อง 3
เกิดวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 อายุ 20 ปี
เชื้อชาติ ไทย  สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
หมู่เลือด บี
ที่อยู่ปัจจุบัน 33/1 ม.17 ต.ผักแพว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ 33130
โทรศัพท์มือถือ 0857703668
E-mail: siwarut501@gmail.com
Line:siwarut4925
Facebook:http://www.facebook.com/care.you.16
Skype : siwarut4925
WhatsApp : 0874490868
คติประจำใจ รักเรียนเพียรค้นคว้า สร้างปัญญา วิชาชาญ
อาหารที่ชอบ คะน้าหมูกรอบ ต้มยำทะเล
สีที่ชอบ  สีฟ้า  สีเขียวอ่อน
สัตว์เลี้ยงที่ชอบ กระต่าย