วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั่งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)
    
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลจากความขัดแย้งของประชาชาติต่าง ๆที่เกิดขึ้นสะสมมาก่อนเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 อันเนื่องมาจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจเงื่อนไขหรือข้อบังคับบทลงโทษตามสนธิสัญญาสันติภาพและความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ

สาเหตุของสงคราม

1. สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม ข้อบกพร่องของสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากประเทศชนะสงครามและประเทศที่แพ้้สงครามต่างก็ไม่พอใจในข้อตกลงเพราะสูญเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะสนธิ ิสัญญาแวร์ซายส์ที่เยอรมันไม่พอใจในสภาพที่ตนต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญา   2. ลัทธิชาตินิยม ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซาย ทำให้ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำเยอรมนีหันไปใช้ลัทธินาซี เพื่อสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับ เบนีโต มุสโสลีนี (BenitoMussolini)ผู้นำอิตาลีหันไปใช้ลัทธิฟาสซิสต์์ส่วนญี่ปุ่นต้องการสร้างวงศ์ไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพา เพื่อเป็นผู้นำในเอเชียนอกจากนี้ยังเกิดทฤษฎีชาตินิยมในเยอรมนีว่าด้วยความเหนือกว่าในทางเผ่าพันธุ์ ที่ทำให้ฮิตเลอร์ใช้นโยบายกวาดล้างชาวยิวในดินแดนยึดครองต่าง ๆ
3. ลัทธินิยมทางทหาร ได้แก่ การสะสมอาวุธเพื่อประสิทธิภาพของกองทัพ ทำให้้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศมากขึ้น และเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน  
4. นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษการใช้นโยบายออมชอมของอังกฤษเมื่อเยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยการเพิ่ม กำลังทหารและการรุกรานดินแดนต่าง ๆ  
5. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ระบอบเผด็จการเพื่อแก้ปัญหาภายใน เช่น เยอรมนีและอิตาลี นำไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศ
6. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ เนื่องจากไม่มีกองทัพขององค์การ ทำให้ขาดอำนาจในการปฏิบัติการและการที่อเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิกจึงทำให้องค์การสันนิบาตชาติเป็นเครื่องมือของประเทศที่ชนะใช้ลงโทษประเทศที่่แพ้สงคราม

ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2  

กองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1939เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่าดานซิกและฉนวนโปแลนด์ให้เยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งทำสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์ได้ยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ ดังนั้น ในวันที่ 3 กันยายนค.ศ. 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีการแบ่งกลุ่มของประเทศคู่สงคราม ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ฝ่ายพันธมิตรได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย  

เมื่อเริ่มสงคราม สหรัฐอเมริกาวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941สหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2กับอังกฤษและฝรั่งเศส ฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะในที่สุดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945การรบในแปซิฟิก ญี่ปุ่นเป็นคู่สงครามกับสหรัฐอเมริกาฝ่ายพันธมิตรยุติสงครามโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกชื่อลิตเติลบอยที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 และลูกที่ 2 ชื่อแฟตแมนที่เมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945 และวันที่ 14 สิงหาคม1945 ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้การที่ชาวไทยส่วนหนึ่งได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement)ดำเนินการร่วมมือและช่วยเหลือฝ่ายพันธมิตรไทยจึงรอดพ้นจากการเป็นฝ่ายผู้แพ้สงคราม


ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายพันธมิตรชนะ    
แต่การนำอาวุธที่มีอานุภาพและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 หลายเท่า เช่น  
1. ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยสงครามอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เป็นโรคจิต โรคระบาด ขาดอาหาร หายสาบสูญ เป็นต้น  
2. ด้านการเมือง ประเทศผู้แพ้สงครามต้องเสียเกียรติภูมิ ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม และต้องยังยินยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ฝ่ายชนะสงครามวางเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม ดังนี้  
          เยอรมนี  พันธมิตรได้จัดการกับเยอรมนีในฐานะเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดสงครามดังนี้
1. เยอรมนีต้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ให้อยู่ในความดูแลของสหภาพโซเวียต อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ประเทศละส่วน
2. นครเบอร์ลิน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1871 เป็นเขตยึดครองของ 4 มหาอำนาจข้างต้น โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกัน
3. ห้ามเยอรมนีผลิตอาวุธสงคราม
4. การผลิตโลหะ เคมี และเครื่องจักรกลที่อาจใช้ในสงครามได้ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของมหาอำนาจทั้ง 4
5. ระบบนาซีทุกรูปแบบต้องยกเลิก  
          ญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นผู้ก่อและขยายสงครามในทวีปเอเชียนั้น ฝ่ายพันธมิตรมอบอำนาจให้สหรัฐอเมริกาจัดดำเนินการโดยลำพัง ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงได้ยึดครองญี่ปุ่นโดยมีนายพลดักลาส แมกอาเทอร์ (Douglas McArthur) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และให้ญี่ปุ่นปฏิบัติตามสนธิสัญญาโดยเคร่งครัด เช่นห้ามการมีกองทัพทหารและนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต้องยอมรับรัฐธรรมนูญที่สหรัฐอเมริการ่างให้ด้วย
3. ด้านเศรษฐกิจ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ริเริ่มสงครามและประเทศมหาอำนาจ ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากเพื่อการฝึก การบำรุงขวัญทหาร และเพื่อการผลิตอาวุธที่มีศักยภาพสูงและทันสมัยมีอาวุธบางชนิดที่ไม่เคยใช้ที่ใดมาก่อน เช่น เรดาร์ตรวจจับ เรือดำน้ำ เรือบรรทุกเครื่องบิน จรวด เครื่องบินชนิดต่าง ๆ ระเบิดปรมาณู เป็นต้น

ผลกระทบของสงคราม

1. การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
2. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม
3. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ
4. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
5. เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มระหว่างโลกเสรีประชาธิไตยกับโลกคอมมิวนิสต์

การประสานประโยชน์  

ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่นั้นทางฝ่ายพันธมิตรก็ได้ร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นที่ จะเผด็จศึกลงให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็วและพยายาม หาวิธีีป้องกันมิให้สงครามเกิดขึ้นอีก โดยได้ดำเนินเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้  
          วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) แห่งอังกฤษ และประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D.Roosevelt)แห่งสหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันประกาศ กฎบัตรแอตแลนติก (AtlanticCharter) บนเรือรบออกัสตา(Augusta) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจอดอยู่นอกฝั่งนิวฟันด์แลนด์เพื่อจะร่วมมือกันรักษาสันติภาพของโลก  
          วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ประเทศต่าง ๆ รวม 26ประเทศได้ให้คำรับรองต่อกฎบัตรแอตแลนติกซึ่งได้จัดตั้งเป็นองค์การหลักแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่จะรักษาสันติภาพ ของโลก ที่เรียกว่า สหประชาชาติ

*** ที่มา
               http://www.sb.ac.th/www_war/war2_1.htm
               http://www.sb.ac.th/www_war/war2_2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น