วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ลักษณะทางกายภาพ
ขนาด
ประเทศไทยมี่พื้นที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ใน     เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเชียและพม่า

ที่ตั้งของประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งอยู่ตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ตั้งอยู่ระหว่าง
     - ละติจูด 5  37' เหนือ ถึง 20  27' เหนือ
     - ลองติจูด 97  21' ตะวันออก ถึง 105  37' ตะวันออก
ลักษณะของประเทศไทย
ประเทศไทยมีความยาววัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลามีความยาวประมาณ 1,620 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของประเทศวัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถึงตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวประมาณ 750 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดวัดจากตำบล คลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 10.6 กิโลเมตร
อาณาเขตของประเทศไทย
ทิศเหนือ   ติดต่อกับประเทศพม่า และลาว มีทิวเขาแดนลาวและแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา มีทิวเขาหลวงพระบาง พนมดงรัก ทิวเขาบรรทัด และแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศตะวันตก         ติดต่อกับประเทศพม่า มีทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย และแม่น้ำปากจั่นเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศใต้     ติดต่อกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำโก-ลก และทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนธรรมชาติ
ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย แบ่งได้เป็น 6 เขต คือ
1. เขตภูเขาและหุบเขาภาคเหนือ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขา แนวทิวเขาวางเรียงตัวกันในแนวเหนือ-ใต้ที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาผีปันน้ำ ทิวเขาหลวงพระบาง (มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด คือสูงประมาณ 2,565 เมตรและมีที่ราบระหว่างหุบเขาลักษณะแคบๆ อยู่ระหว่างแนวทิวเขา เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่านมีดินตะกอนอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง
เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป จะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก มีภูเขาประปราย และที่ราบตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมาถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม มีลักษณะดินเป็นตะกอนน้ำพัดพาซึ่งมีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของไทย แม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา
3. เขตทิวเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตทิวเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง รูปร่างคล้ายกระทะหงายมีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้ลาดลงทางด้านตะวันออก ทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ ทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง เรียกว่าแอ่งโคราช หรือที่ราบสูงโคราช ซึ่งเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี
4. เขตภูเขาและที่ราบภาคตะวันออก
เขตภูเขาและที่ราบภาคตะวันออก เป็นเขตที่มีเนื้อที่น้อยที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูกสลับกับภูเขาและมีที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงสู่อ่าวไทย
5. เขตทิวเขาภาคตะวันตก
เขตทิวเขาภาคตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขาที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ราบแคบๆ ทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวยาวต่อเนื่องลงมา เป็นทิวเขาที่เกิดในยุคหินกลางเก่ากลางใหม่ แม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่
6. เขตคาบสมุทรภาคใต้
เขตคาบสมุทรภาคใต้ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรยื่นลงไปในทะเล  ขนาบด้วยทะเลทั้ง 2 ด้าน มีภูเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีแม่น้ำสายสั้นๆ และมีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกกว้างกว่าที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
พรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
1. พรมแดนไทย-ลาว ติดต่อกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อำนาจเจริญ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี
2. พรมแดนไทย-กัมพูชา ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวัยออกได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี ตราด
3. พรมแดนไทย-พม่า ติดต่อกับภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
4. พรมแดนไทย-มาเลเชีย ติดต่อกับภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา นราธิวาส
ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย
ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยควบคุมอากาศ ได้แก่
1. ที่ตั้งตามละติจูด ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปี
2. ความใกล้ไกลทะเล ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้ทะเลจึงได้รับอิทธิพลจากทะเล ทำให้อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมากนัก
3. ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศจะแตกต่างกันตามระดับความสูงต่ำของแผ่นดิน
4. ทิศทางลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านประเทศไทย ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

เขตภูมิอากาศของไทย
ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยแบ่งตามระบบของเคิปเปน แบ่งออกเป็น
1. ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) ลักษณะมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ฤดูแล้งสั้นๆ สลับบางเดือนมีปริมาณฝนตกมากกว่า 60 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตมรสุมครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกแถบจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด
2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ลักษณะมีฝนตกปานกลางฤดูแล้งยาวนาน ฤดูฝนสั้น ปริมาณฝนตกน้อยกว่า 60 มิลลิเมตรต่อเดือน พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสลับป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และทางตอนเหนือของภาคตะวันออก
3. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือป่าฝนเมืองร้อน (Af) มีฝนตกชุกตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,500 มิลลิเมตรต่อปี เพราะไดรับอิทธิพลจากลมมรสุม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเกิดมาทดแทนใหม่ได้ เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ
2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถสร้างทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ
3. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย
ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ยังขาดการจัดการที่ดีจึงถูกทำลายลงอย่างมาก ทรัพยากรในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ทรัพยากรดิน ดินที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่
- ดินอุลติซอล เป็นดินที่สะสมตัวอยู่ในชั้นรองของดินเหนียว พบอยู่บริเวณภาคกลางมีบริเวณกว้างขวางที่สุดในประเทศไทย
- ดินฮีลโตซอล เป็นดินที่เกิดจากการตกตะกอนของอินทรียสารในที่ลุ่ม พบในภาคใต้
- ดินอัลฟิซอล ดินชั้นบนและชั้นรองมีดินเหนียวสะสมมาก พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
- ดินมอลติซอล เป็นดินที่มีความสมบูรณ์มาก พบในภาคกลาง เป็นบริเวณแคบๆ ตั้งแต่ลพบุรีไปตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- ดินอินเซฟติซอล เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด เป็นดินตะกอนใหม่ พบพบในภาคกลางตอนล่างภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ดินเอ็นติซอล พบบริเวณชายฝั่งทะเล และที่ราบริมแม่น้ำ
- ดินเวอร์ติซอล เป็นดินเหนียวที่หดและขยายตัวตามความชื้น พบบริเวณแคบๆพบในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และสิงห์บุรี
- ดินสโปโตซอล เป็นดินทรายมีการสะสมของสารสีแดง ในชั้นดินรอง เป็นดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ พบในบริเวณชายฝั่ทะเลตั้งแต่จังหวัดสงขลาถึงปัตตานี
ดินออกซิซอล เป็นดินร่วนหรือดินเหนียว มีสีแดงเหลือง มีอาหารของพืชต่ำมีเหล็กและอลูมินัมสูง พบบริเวณแคบๆ ในเขตภูเขาในภาคต่างๆ
2. ทรัพยากรน้ำ
ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นเขตที่ได้รับลมมรสุมตลอดปี จึงทำให้แต่ละปีประเทศไทยมีปริมาณน้ำผิวดินเพียงพอแก่การเพาะปลูกพืช ภาคกลางมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ
3. ทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ป่าไม้ผลัดใบกับ ป่าไม้ไม่ผลัดใบ แบ่งไดเป็นชนิดย่อย คือ
1. ป่าดงดิบ เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ อยู่ในเขตฝนตกชุก เขียวชอุ่มตลอดปี พบทางภาคใต้ ภาคตะวันออก
2. ป่าเบญจพรรณ ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าโปร่ง มีไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด พบทางภาคเหนือ และตอนเหนือของภาคกลาง
3. ป่าแดง ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นป่าโปร่งสลับป่าไผ่ พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4. ป่าชายเสน ป่าไม้ไม่ผลัดใบ พบอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินเลน มีคุณค่าทางระบบนิเวศ เพราะเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อน อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
เป็นสารอินทรีย์ที่พบอยู่ทั่วไปตามผิวโลก แร่ธาตุในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิด
1. แร่โลหะ เช่น
ดีบุก พบมากบริเวณเทือกเขาด้านตะวันตกตั้งแต่แม่ฮ่องสอนลงมาจนถึงนราธิวาส
แมงกานีส พบทางภาคเหนือ และภาคใต้แต่มีปริมาณไม่มากนัก
วุลแฟรม พบแหล่งเดียวกับแร่ดีบุก
พลวง พบทางเทือกเขาด้านตะวันตกของประเทศ
เหล็ก พบมากบริเวณภาคกลางตอนบน
2. แร่อโลหะ ได้แก่
ฟลูออไรต์ พบทางภาคเหนือ และภาคตะวันตก
หินอ่อน พบทางภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ
เกลือ ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ เกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์
3. แร่เชื้อเพลิง ไดแก่
ถ่านหินลิกไนต์ แหล่งที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ
ปิโตรเลียม พบปริมาณเล็กน้อยในภาคเหนือ
แก๊สธรรมชาติ พบในอ่าวไทย

***ที่มา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น