วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
1.  ควมหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์  เป็นวิชาทีศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์  เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด  มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย  และจำหน่ายจ่ายแจกไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆ  ของสังคมหนึ่งๆ  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ
ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร  ความต้องการ  ความขาดแคลน  การเลือก  และค่าเสียโอกาส

1. ทรัพยากรมีจำกัด  ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ทรัพยากรการผลิต  (productive resources)  หรือ  ปัจจัยการผลิต (factors of production)  หมายถึง  สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสอนงความต้องการของมนุษย์ ได้แก่
ที่ดิน (land)  คือ  พื้นดิน  รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่บนผิวดิน  ปะปนในดิน  และในอากาศเหนือพื้นดินนั้น
ทุน (capital)   ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์  หมายถึง  สิ่งที่สามารถใช้ได้คงทน  และผลิตสินค้าและบริการได้โดยตรง  เช่น  โรงงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์การผลิตซึ่งแตกต่างจากความหมายทางธุรกิจ หมายถึง เงินสด  หรือเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน
การประกอบการ (entrepreneurship)  คือ  การรวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆ  มาผลิตสินค้าและบริการ  ผู้ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้ประกอบการ (entrepreneur)
2. ความต้องการมีไม่จำกัด
มนุษย์โดยทั่วไปมีความต้องการ  หรือความอยากได้อยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีขอบเขต เช่น เมื่อมีปัจจัยสี่คือ เครื่องนุ่งห่ม  อาหาร  ยารักษาโรค  และที่อยู่อาศัยเพียงพอแล้วก็อยากได้สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย สิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ  สิ่งที่จะเชิดหน้าชูตาและยกระดับฐานะทางสังคมของตนและอื่นๆ  ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด  กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการตัดสินใจในการผลิต การกระจายและการแลกเปลี่ยนเกิดจากความพยายามที่จะสนองความต้องการอันไม่จำกัดของมนุษย์
ความต้องการในทางเศรษฐศาสตร์ (economic wants)  หมายถึง  ความปรารถนาที่จะได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่แล้ว  แต่ไม่เพียงพอหรือไม่มีอยู่เลย  และเราต้องมีเงินพอที่จะซื้อหามาได้  ความต้องการของมนุษย์เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค  ส่วนความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์ (economic needs)  หมายถึง  ความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ต้องมีไว้เพื่อสนองวามต้องการให้สามารถดำรงชีพได้ตามอัตภาพ ได้แก่ ปัจจัยสี่  คือ  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  และยารักษาโรค  ส่วนความต้องการเครื่องสำอาง  เสื่อผ้าแฟชั่นราคาแพง  เครื่องประดับมีค่าเหล่านี้เป็นความต้องการทางเศรษฐศาสตร์มิใช่ความจำเป็นทางเศรษฐศาสตร์
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี่  อาจมีสิ่งจำเป็นสำหรับการครองชีพเพิ่มขึ้น  เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  รถยนต์  เครื่องใช้ไฟฟ้า  เป็นต้น  ซึ่งแต่เดิมจัดเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับผู้มีรายได้สูงเท่านั้น
ความต้องการในทางเศรษฐศาสตร์  จำเป็นต้องสัมผัสได้และสามารถวัดหรือคำนวณมูลค่าเป็นเงินได้  แต่มีความต้องการหลายประเภทที่ไม่สามารถสัมผัสและคำนวณมูลค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น ความรักจากพ่อแม่  การยอมรับจากเพื่อนร่วมชั้น  ความเคารพนับถือจากเพื่อนบ้าน  ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงไม่จัดเป็นความต้องการทางเศรษฐศาสตร์
เราจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องยากจะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างความต้องการและความจำเป็นในทางเศรษฐศาสร์ ตัวอย่างเช่น การมีบ้านหลังใหญ่ จำนวนครอบครัวที่มีสมาชิกจำนวนมากก็จะถือได้ว่าเป็นความจำเป็นต้องมีบ้านหลังใหย่ แต่สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกเพียงไม่กี่คนเท่านั้น  การมีบ้านหลั้งใหญ่นับเป็นความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นต้น
3. ความขาดแคลน
หากเรามีทรัพยากรเหล่านี้อยู่มากมายหรือมีไม่จำกัด  เราก็สามารถผลิตสินค้าและบริการสนองตอบความต้องการของคนในประเทศได้อย่างเพียงพอ  ปัญหาความขาดแคลน (scarcity)  ในประเทศต่างๆ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น  แต่ในความเป็นจริงนั้น  ความขาดแคลนและปัญหาเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ทั่วโลก  เนื่องจากทรัพยากรการผลิตของประเทศต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด  แต่ความต้องการของคนเรามีมากมายไม่จำกัดนั่นเอง
เนื่องจากทรัพยากรทุกชนิดนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง  จึงเป็นทางเลือก (choice) ประกอบกับการขาดสมดุลระหว่างทรัพยากรกับความต้องการของมนุษย์  จึงต้องมีการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และเป็นที่พึงพอใจของคนส่วนใหญ่  ส่วนทางด้านการบริโภคก็จะต้องตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีประโยชน์  หรือให้ความพอใจแก่ตนเพื่อให้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป
4.  ค่าเสียโอกาส
การเลือกทุกกรณีจะมีต้นทุนการเลือก  เรียกว่า  ค่าเสียโอกาส (opportunity cost)  ซึ่งหมายถึงมูลค่าของทางเลือกที่ดีที่สุดในการใช้รัพยากร  ที่ต้องเสียสละไปเมื่อได้ตัดสินใจเลือกทางเลือกอื่น  ตัวอย่างเช่น มีที่ดินอยู่แปลงหนึ่งถ้าให้เขาเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 60,000 บาท  ถ้าปลูกผักจะมีรายได้ปีละ 12,000 บาท  และถ้าปลูกพืชไร่จะมีรายได้ปีละ 10,000 บาท ดังนั้น
ถ้าให้เขาเช่า  มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นรายได้จากการปลูกผักปีละ 12,000 บาท  (รายได้จากการปลูกผักสูงกว่าการปลูกพืชไร่)
ถ้าปลูกผัก      มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นค่าเช่าปีละ 60,000 บาท  (รายได้จากค่าเช่าสูงกว่ารายได้จากการปลูกผักและปลูกพืชไร่)
ถ้าปลูกพืชไร่   มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เป็นค่าเช่าปีละ 60,000 บาท  (รายได้จากค่าเช่าสูงกว่ารายได้จากการปลูกผัก)
ในทางเศรษฐศาสตร์การเลือกจะเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนการได้ใช้ทรัพยากรหนึ่งๆ โดยยอมเสียโอกาสใช้ทรัพยากรอื่นลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า trade – offs
5. การเลือก
ความหมายของการผลิต
การผลิต  (production)  หมายถึง  การนำปัจจัยการผลิตซึ่งมีอยู่จำกัด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ  มาผ่านกระบวนการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการประเภทเศรษฐทรัพย์ (economic goods = เป็นสินค้าที่มีมูลค่าคำนวณเป็นราคาซื้อขาย เพราะมีจำนวนจำกัด ตรงข้ามกับทรัพย์เสรี (free goods) ซึ่งมีปริมาณเกินความต้องการของมนุษย์ จึงไม่จำเป็นต้องคำนวณราคาซื้อขาย)   สำหรับผลิตสนองความต้องการของผู้บริโภค (needs and wants)  เช่น  โรงงานน้ำตาลนำอ้อยไปผ่านกระบวนการผลิต  รวมทั้งการใช้เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์  และแรงงานขนย้าย  ได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลทราย เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิต   กระบวนการผลิต   และผลผลิต

ความสามารถของสินค้าและบริการในการบำบัดความต้องการของมนุษย์  ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า  อรรถประโยชน์  หรือ  ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  (utility)  จึงกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า  การผลิตก็คือการสร้างอรรถประโยชน์ (creation of utilities)  จากปัจจัยการผลิตต่างๆ นั่นเอง
ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต (tactors of production)  หรือ ทรัพยากรการผลิต  หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ประกอบกันในการผลิตสินค้าและบริการ  แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  คือ  ที่ดิน  แรงงาน  ทุน  และผู้ประกอบการ
1. ที่ดิน      รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ  ซึ่งมนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น เช่น น้ำ  ป่าไม้  แร่ธาตุ  ความหมายของคำว่าที่ดิน ในทางเศรษฐศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้ทั่วไป กล่าวคือ ในการผลิตภาคเกษตรใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ในภาคอุตสาหกรรมใช้ที่ดินเป็นที่ตั้งโรงงานเก็บสินค้า  แต่ที่ดินยังหมายความรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดเหนือดิน  ภายในดิน  และต่ำกว่าระดับพื้นดินด้วย เช่น น้ำ  สัตว์น้ำ  ป่าไม้  สัตว์ป่า  ก๊าซธรรมชาติ  น้ำมันดิบ  แร่ธาตุ  เป็นต้น
2. ทุน      รวมถึงเครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์  และสถานที่ที่ใช้ในการผลิต  หมายถึง สิ่งที่มนษย์สร้างขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพื่อการผลิตสินค้าแบะบริการ  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สินค้าทุน (capital goods) ได้แก่  สิ่งก่อสร้าง เช่น โรงงาน  ถนน  สะพาน  ทางรถไฟ       เครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องจักรในโรงงาน  เครื่องสูบน้ำ  รถแทรกเตอร์  รถบรรทุก  รถไถนา  สัตว์ที่ใช้แรงงาน อุปกรณ์ต่างๆ      วัตถุดิบ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช  ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  น้ำมันเชื้อเพลิง  เหล็กเส้น  ไม้แปรรูป  ยางแผ่น  เม็ดพลาสติก  ผัก  ผลไม้  ที่จะนำมาประกอบหรือแปรรูปสินค้าทุนเหล่านี้ถือว่าเป็น  ทุนที่แท้จริง (real capital)                       
ทุนเป็นตัวเงิน หรือ เงินทุน (money capital)  ในแง่ของนักเศรษฐศาสตร์พิจารณาว่า  เป็นเพียงสือกลางใช้แลกเปลี่ยน  แต่  สินค้าทุน  จะเป็นตัวบ่งชี้กำลังการผลิตที่เป็นจริงได้ดีกว่าเงินทุน  ดังนั้นเงินทุนจึงไม่นับเป็นทุนในทางเศรษฐศาสตร์
ดอกเบี้ย  (interest)    เป็นผลตอบแทนของเจ้าของทุน  เนื่องจากสินค้าทุนมีความยุ่งยากในการคำนวณผลตอบแทน  จึงมักตีราคาเป็นตัวเงินก่อน  และคำนวณหาผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับเงินทุน
3.  แรงงาน     รวมถึงกำลังกายและกำลังความคิดของคนที่ใช้ในการผลิต  หมายถึง  ความสามารถทั้งกำลังกายและกำลังความคิด  ตลอดจนความรู้ความชำนาญของมนุษย์  ที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการ  แต่ไม่รวมถึงความสามารถในการประกอบการซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตอีกประเภทหนึ่งที่จะกล่าวในลำดับต่อไป
ผู้ใช้แรงงานหรือเจ้าของแรงงาน  ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าแรงงาน  จะได้รับ  ค่าจ้าง (wages)  เป็นผลตอบแทน
แรงงานแบ่งออกเป็น  2  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ
1)  แรงงานที่มีทักษะ (skilled labor)  เป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่าดี  การปฏิบัติงานใช้กำลังความคิดมากกกว่าใช้แรงกาย เช่น แพทย์  สถาปนิก  วิศวกร เป็นต้น
2) แรงงานที่ไม่มีทักษะ (unskilled labor)  เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน  มักทำงานโดยอาศัยกำลังกาย เช่น คนงานรับจ้างทั่วไป  คนงานขนข้าวสารในโรงสี เป็นต้น
4. ผู้ประกอบการ    คือ ผู้ที่นำที่ดิน  ทุน  แรงงาน  มาร่วมดำเนินการผลิต     ผู้ประกอบการ (entrepreneur)  หมายถึง  ผู้ที่นำที่ดิน  แรงงาน  และทุนมาดำเนินการผลิตสินค้า  และบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค  ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการผลิต  สามารถคาคคะเนแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคและกำลังการผลิตในอนาคตได้  นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า  จะผลิตอะไร  ปริมาณเท่าใด  ใช้เทคนิคการผลิตแบบใด  ผลิตแล้วจำหน่ายแก่ใคร  ราคาต่อหน่วยเป็นเท่าใด  จึงจะได้ผลตอบแทนสูงสุด  ผู้ประกอบการจะต้องยอมรับการเสี่ยงในธุรกิจของตน  ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับอยู่ในรูปของ กำไร (profit)
ผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญมาในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ    ประเทศต่างๆ  ทีมีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง  ส่วนใหญ่มาจากการริเริ่มของผู้ประกอบการา  ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม  (Small and Medium scales Enterpreneurs SMEs)

***ที่มา
               http://www.kwc.ac.th/3Basic.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น