การเลือกตั้ง ส.ส.
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
คำว่า "ประชาธิปไตย" แปลว่า "ประชาชนเป็นใหญ่"
คือการที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย หรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
แต่ประชาชนทั้ง 65
ล้านคนจะเข้าไปปกครองบริหารประเทศทั้งหมดด้วยตนเองย่อมเป็นไปไม่ได้ จึง
ต้องมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ตัวแทนที่ตนเลือกเพื่อให้ไปทำหน้าที่แทน
ดังนั้นวันเลือกตั้งก็คือวันที่ประชาชนไปมอบอำนาจอธิปไตย หรือไปมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้แทนที่ตนเลือกนั่นเอง
ถ้าผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปสามารถทำหน้าที่แทนประชาชนได้อย่างดี
มีประสิทธิภาพสมกับที่ประชาชนไว้วางใจ ประชาชนก็จะอยู่ดีมีสุข
ประเทศชาติและท้องถิ่นเจริญพัฒนา
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการเยียวยาแก้ไข
แต่ถ้าประชาชนเลือกผู้แทนที่ไม่ดี
ไม่มีความรู้ความสามารถขาดคุณธรรม ได้รับเลือกตั้งด้วยการทุจริต ใช้เงินซื้อเสียง
หลบเลี่ยงกฎหมาย เมื่อได้เข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนก็ต้องถอนทุนคืนด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น
เงินงบประมาณที่จะไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของ ประชาชนก็รั่วไหล
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก็ไม่ได้รับการแก้ไขเพราะตัวแทนที่เลือกเข้าไป
ไม่มีความคิดรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และทรยศต่อประชาชนที่ไว้วางใจมอบอำนาจอธิปไตยให้ตนเข้าไปทำหน้าที่แทน
การเลือกตั้งจึงมีความสำคัญที่ประชาชนผู้มี
สิทธิเลือกตั้งจะต้องไปทำหน้าที่เลือกตัวแทนทุกครั้งทุกระดับทั้งตัวแทน
ระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยพินิจพิจารณาเลือกอย่างละเอียดรอบคอบพิถีพิถัน
แม้แต่เราจะเลือกซื้อผักสักกำ ซื้อปลาสักตัวยังเลือกแล้วเลือกอีกกว่าจะตัดสินใจซื้อได้
ดังนั้น
ในการเลือกตัวแทนที่จะเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตย เราจึงต้องตัดสินใจให้ดี
โดยควรเลือกคนที่มีลักษณะต่อไปนี้
1. มีประวัติส่วนตัว
และผลงานที่ผ่านมาดีเป็นที่ยอมรับ กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม
2. มีคุณธรรม
และความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
3. มีความรู้ความสามารถ คือรู้ปัญหา
รู้หน้าที่ และมีแนวคิด หรือข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน มีความเป็นไปได้
4. มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย คือ
มีเหตุผล ไม่ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เคารพมติเสียงส่วนใหญ่
รับฟังความเห็นของเสียงส่วนน้อย
5.
มีการหาเสียงหรือแนะนำตัวอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎกติกาการเลือกตั้ง
ทำไมต้องไปเลือกตั้ง
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน แท้จริงแล้ว
ประชาชนจะต้องปกครองกันเอง ออกกฎหมายเอง บริหารเอง
แต่ประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถหาสถานที่และเวลาในการประชุมหารือกันได้
จึงต้องมีการเลือกตั้ง มอบอำนาจให้บุคคลหรือคณะบุคคลไปทำหน้าที่แทนตน
การมอบอำนาจหรือการเลือกตั้งของแต่ละประเทศแตกต่างกัน
บางประเทศมอบอำนาจให้แก่ผู้ที่จะไปทำหน้าที่แทนตน แต่บางประเทศมอบอำนาจให้บางส่วน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มอบอำนาจให้บุคคลหรือคณะบุคคลเพียงบางส่วน
ประชาชนยังมีช่องทางแห่งอำนาจที่จะเสนอกฎหมายได้โดยตรง
ดังนั้น
การมอบอำนาจให้ใครก็ตามทำหน้าที่แทนเราจะต้องมอบด้วยความระมัดระวัง
เพราะผลกระทบจากการที่เราใช้อำนาจในทางที่ผิด
หรือใช้ไม้เกิดประสิทธิภาพจะส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว
และสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี
พ.ศ.2540 กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย ทุกคนที่เราต้องใช้สิทธิลงคะแนน
ในการ เลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ปกครองผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
การไปเลือกตั้งเป็นความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยถือว่า การเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
เพื่อให้ได้ ตัวแทนที่ตนต้องการ
นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของทุกคน
ถ้าไม่ไปโดยไม่แจ้งเหตุก็จะทำให้เสียสิทธิตาม ที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
สิทธิที่เสียไปหากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ส.
ผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิการเมือง 8 ประการดังนี้
1. เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
2. เสียสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน
3. เสียสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
4. เสียสิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเห็นว่าการเลือกไม่สุจริต
5. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
6. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้
ส.ว. มีมติถอดถอนบุคคลในตำแหน่งสำคัญ ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต
7. เสียสิทธิเข้าชื่อขอให้สภาท้องถิ่น
เช่น สภา อบต. สภาเทศบาล พิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
8. เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นสิทธิต่าง ๆ ที่เสียไปจะกลับคืนมา เมื่อได้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง
ส.ส.หรือ ส.ว. ครั้งต่อไป แม้จะไปเลือกตั้งระดับท้องถิ่นก็ทดแทนกันไม่ได้
การแจ้งเหตุไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
กรณีที่มีเหตุจำเป็นทำให้ไปเลือกตั้งไม่ได้
เช่น มีธุระจำเป็นเร่งด่วนสำคัญต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกลจากที่เลือกตั้ง
หรืออาศัยอยู่ไกลจาก หน่วยเลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
และไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้ หรือ เจ็บป่วย พิการ สูงอายุ
จนทำให้ไม่อาจเดินทางไป ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ขอให้แจ้งเหตุผลตามแบบ
ส.ว.30ได้ที่นายอำเภอ ปลัดเทศบาลหรือ ผอ.เขตของ กทม.
ด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่นไปยื่น แทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
สำหรับผู้ที่ไม่ได้แจ้ง
ให้ตรวจสอบรายชื่อผู้ไม่ไปเลือกตั้งได้ที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ
หากมีรายชื่อก็ให้แจ้งเหตุอีกครั้งภายใน 30 วัน มิฉะนั้น ท่านจะเสียสิทธิ 8 ประการ
***ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น