ฤดูกาลของโลก
แหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญที่โลกได้รับคือดวงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานความร้อนที่โลกได้รับนี้ ก่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ทางบรรยากาศของโลกมากมาย รวมตลอดถึงการเกิดฤดูกาลบนผิวพื้นโลกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงจากแนวดิ่ง 23 องศา ตลอดเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั่นคือ ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปก็เอียงไปด้วย โดยจะหันขั้วโลกเหนือและใต้เข้าหาดวงอาทิตย์สลับกัน ทำให้พลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวพื้นโลกในรอบปี ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน ขั้วโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะได้รับพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์มากกว่า จะเป็นฤดูร้อน ส่วนขั้วโลกที่หันออกจากดวงอาทิตย์ จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า จะเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในรูปที่ 1 ถ้าโลกไม่เอียง บริเวณขั้วโลกทั้ง 2 จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อยมากตลอดปี ขณะที่ที่เส้นศูนย์สูตรจะได้รับสูงมากตลอดปี แต่เนื่องจากแกนโลกเอียงดังกล่าวแล้ว ทำให้การกระจายของพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปในรอบปี แนวโคจรของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามีอิทธิพลต่อมุมของลำแสงที่ตกกระทบบนพื้นผิวโลก กล่าวคือบริเวณใดที่มีลำแสงตั้งฉากตกกระทบ บริเวณนั้นจะได้รับพลังงานความร้อน มากกว่าบริเวณที่มีลำแสงเฉียงตกกระทบ ทั้งนี้เพราะลำแสงเฉียงจะครอบคลุมพื้นที่ มากกว่าลำแสงตั้งฉากที่มีลำแสงขนาดเดียวกัน จึงทำให้ความเข้มของพลังงานความร้อน ในบริเวณที่มีลำแสงตั้งฉากตกกระทบ จะมากกว่าบริเวณที่มีลำแสงเฉียงตกกระทบ ดังแสดงในรูปที่ 2 นอกจากนี้ลำแสงเฉียง จะผ่านชั้นบรรยากาศที่หนากว่าลำแสงดิ่ง ดังนั้นฝุ่นละออง ไอน้ำในอากาศจะดูดกลืนความร้อนบางส่วนไว ้และสะท้อนความร้อนบางส่วนออกไปยังบรรยากาศภายนอก จึงทำให้ความเข้มของพลังงานความร้อนที่ตกกระทบผิวพื้นโลกของลำแสงเฉียงน้อยลง เพราะฉะนั้นในฤดูหนาวอากาศจึงหนาวเย็น เพราะความเข้มของแสงอาทิตย์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับในฤดูร้อน เพราะได้รับแสงในแนวเฉียงตลอดเวลา ลำแสงของดวงอาทิตย์ตกกระทบตั้งฉากกับผิวพื้นโลกได้ เฉพาะระหว่างเส้นละติจูด 23 องศา เหนือ ถึง 23 องศา ใต้เท่านั้น ดังนี้
| ||||||||
![]() รูปที่ 1 แนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ![]() รูปที่ 2 มุมตกกระทบของลำแสงดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความเข้มของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงถึงผิวพื้นโลกแตกต่างกัน ลำแสงที่ตกกระทบทำมุมสูงกว่าความเข้มของพลังงานจากดวงอาทิตย์จะมากกว่า | ||||||||
ฤดูกาลของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม จึงทำให้ประเทศไทยมีฤดูกาลที่เด่นชัด 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูแล้ง (Wet and Dry Seasons) สลับกัน และสำหรับฤดูแล้งนั้น ถ้าพิจารณาให้ละเอียดลงไปสามารถแยกออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนกับฤดูหนาว ดังนั้นฤดูกาลของประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ 1. ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (หรือที่เปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูฝน) เป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ลำแสงของดวงอาทิตย์ จะตั้งฉากกับผิวพื้นโลกในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ จึงทำให้สภาวะอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าประเทศไทยอากาศจะร้อนและแห้งแล้ง แต่ในบางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาถึงประเทศไทยตอนบนได้ ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมวลอากาศเย็น ที่แผ่ลงมากับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกว่า "พายุฤดูร้อน" 2. ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม ฤดูนี้จะเริ่มเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมชื้นพัดปกคลุมประเทศไทย ขณะที่ร่องความกดอากาศต่ำ (แนวร่องที่ก่อให้เกิดฝน) พาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะเริ่มพาดผ่านภาคใต้ในเดือนเมษายน แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนตามลำดับ ประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่งและเรียกว่าเป็น "ช่วงฝนทิ้ง" ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือนได้ ประมาณเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนร่องความกดอากาศต่ำจ ะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยจะพาดผ่านตามลำดับจากภาคเหนือลงไปภาคใต้ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยจะมีฝนชุกต่อเนื่อง โดยประเทศไทยตอนบนจะตกชุกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน และภาคใต้จะตกชุกช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ตลอดช่วงเวลาที่ร่องความกดอากาศต่ำเลื่อนขึ้นลงนี้ ประเทศไทยก็จะได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่บางระยะอาจมีกำลังแรง บางระยะอาจมีกำลังอ่อน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของแนวร่องความกดอากาศต่ำ ประมาณกลางเดือนตุลาคมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวจะเริ่มพัดเข้ามาปกคลุม ประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าได้เริ่มฤดูหนาวของประเทศไทยตอนบน เว้นแต่ทางภาคใต้จะยังคงมีฝนตกชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดลงมาจากประเทศจีนจะพัดผ่านทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยก่อนลงไปถึงภาคใต้ ซึ่งจะนำความชื้นลงไปด้วย เมื่อถึงภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกจึงก่อให้เกิดฝนตกชุกดังกล่าวข้างต้น 3. ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มพัดปกคลุมประเทศไทยประมาณกลางเดือนตุลาคม ซึ่งจะนำความหนาวเย็นมาสู่ประเทศไทย เป็นระยะที่ขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ตำแหน่งลำแสงของดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวพื้นโลกขณะเที่ยงวันจะอยู่ทางซีกโลกใต้ ทำให้ลำแสงที่ตกกระทบกับพื้นที่ในประเทศไทยเป็นลำแสงเฉียงตลอดเวลา ***ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=23 | ||||||||
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ความรู้เกี่ยวกับฤดูกาลของโลก
ความรู้เกี่ยวกับลมมรสุม
ลมมรสุม
เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล
คือลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ คำว่า “มรสุม” หรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ
แปลว่า ฤดูกาล (season) สาเหตุใหญ่ๆ
เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน
และพื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร
อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน
อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป
พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร
เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่
ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้
และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด
คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย
ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย
ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้
และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย
ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล
และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว
ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย
จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ
แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น
และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป
โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก
เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
ทิศทางลมมรสุม
***ที่มา
http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=52
วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันขั้นพื้นฐานและเป็นสถาบันหลักของสังคม ครอบครัวจึงประกอบไปด้วย สามี ภรรยา บุตรและญาติ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในครอบครัวหรือเครือญาติ ดังนั้น หลักกฏหมายที่ใช้โดยทั่วไปอาจนำมาใช้กับกฏหมายครอบครัวไม่ได้ กฏหมายครอบครัวจึงเป็นกฏหมายที่อ้างอิงหลักศีลธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมากที่สุด เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้น การสมรส การปฏิบัติต่อกันระหว่างสามีและภรรยา การปกครองบุตร ทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยา ตลอดถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมรดก เป็นต้น
การหมั้น
ก่อนทำการสมรสมักจะมีพิธีหมั้นก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่า การสมรสจะต้องมีการหมั้นเสมอไปทุกครั้ง การหมั้นจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ ที่กฏหมายบัญญัติเกี่ยวกับการหมั้นเอาไว้ด้วยนั้นก็เพื่อรักษาและส่งเสริมประเพณีของไทย
ดังนั้นการหมั้นจึงเป็นเรื่องการทำสัญญาระหว่างฝ่ายชายและหญิงเพื่อตกลงว่าจะสมรสกันแต่เป็นสัญญาที่แตกต่างจากสัญญาโดยทั่วไป คือเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นโดยฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะถือเป็นเหตุไปฟ้องร้องต่อศาลบังคับให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องทำการสมรสด้วยไม่ได้ จะทำได้ก็แต่เพียงให้ฝ่ายที่ผิดสัญญารับผิดใช้ค่าทดแทนเท่านั้น
ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ได้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้นโดยสรุปได้ดังนี้
ชายและหญิงจะทำการหมั้นได้ต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ สัญญาหมั้นนั้นใช้ไม่ได้
ถ้าชายและหญิง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ คืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำการหมั้นได้ด้วยตนเอง ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของชายและหญิงด้วย
ในการหมั้นฝ่ายชายจะต้องให้ทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นเงิน ทอง หรือแหวนเพชรแก่ฝ่ายหญิง ซึ่งทรัพย์สินนี้เรียกว่า ของหมั้น มิฉะนั้นจะถือว่าการหมั้นนี้ไม่ถูกต้อง และนอกจากนี้ฝ่ายชายยังอาจให้ทรัพย์สินแก่พ่อแม่ของหญิงคู่หมั้น โดยถือว่าทรัพย์สินนี้เป็นสินสอด หากต่อมาภายหลังฝ่ายหญิง คู่หมั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้นก็จะต้องคืนสินสอดและของหมั้นให้กับฝ่ายชายคู่หมั้นด้วย
การสมรส
การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกล จริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดีจะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้
หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้
การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วย กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
1.คู่สมรสทั้งสองที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทั้งสองฝ่ายไปแสดง
2. ถ้าคู่สมรสมีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด นอกจากต้องใช้หลักฐานในข้อ 1 แล้ว ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือหนังสือยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนเซ็นรับรองไปแสดง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การให้คำยินยอมในการสมรส
สำหรับคู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อและแม่ของทั้งสองฝ่ายจึงจะทำการสมรสกันได้ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดวิธีการไว้ชัดเจน ซึ่งดำเนินการได้ดังนี้
1.ลงลายมือชื่อในทะเบียน ขณะจดทะเบียนสมรส หรือ
2.ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม โดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้คำยินยอมในหนังสือนั้นหรือ
3.ถ้ามีความจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้ การยินยอมนั้นเมื่อได้แล้วไม่สามารถถอนได้
การสมรสที่ดำเนินการตามเงื่อนไขและขั้นตอนตามที่กฏหมายกำหนดแล้ว ต่อมาภายหลังทราบว่า การสมรสนั้นขัดต่อเงื่อนไขที่กฏหมายกำหนด เช่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้วมาจดทะเบียนซ้ำ การสมรสครั้งหลังนี้ก็ถือว่าสมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่จนกว่าฝ่ายที่เสียหายจะฟ้องร้องต่อศาลให้พิพากษาเพิกถอนการสมรสนั้น บุคคลอื่นไม่มีอำนาจที่จะเพิกถอนการสมรสได้ แม้นายทะเบียนผู้รับจดทะเบียนนั้นเอง
ทั้งนี้ ในการจดทะเบียนสมรสนั้น นอกเหนือจากหญิงและชายจะเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องกันตามกฎหมายแล้ว บุตรที่เกิดมาก็เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย คู่สมรสได้รับการยกย่องในสังคม ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ หากเป็นข้าราชการจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตร ค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาล
การจดทะเบียนรับรองบุตร
ในระหว่างการสมรส สามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายและมีบุตรด้วยกันถือว่า บุตรผู้นั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของบิดา แต่หากไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันถือว่าบุตรที่เกิดนั้นเป็นบุตรนอกสมรส หรือหากบิดาไม่ปรากฏ บุตรนั้นมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของมารดา ซึ่งโดยกฎหมายจะถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของมารดาเสมอ
บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนดไว้ดังนี้
เมื่อบิดามารดาจดทะเบียนกันภายหลัง
บิดาได้ให้การจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร
เมื่อศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ในการจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น บิดามารดาและบุตรจะต้องไปที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงาน ถ้ามารดาและบุตรไม่ได้ไปด้วย นายทะเบียนผู้รับจดจะแจ้งไปยังฝ่ายที่ไม่มา เพื่อให้มาให้ความยินยอมหรือคัดค้านการขอจดทะเบียนนั้น ถ้าพ้น 60 วัน นับแต่วันแจ้งความของนายทะเบียนไปถึงถือว่าไม่มีการคัดค้าน นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนให้ ถ้ามารดาและบุตรอยู่ต่างประเทศก็จะขยายเวลาไปเป็น 180 วัน เมื่อบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว บุตรนั้นย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา นับแต่วันที่จดทะเบียนนั้นไป
มรดกและการทำพินัยกรรม
มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ เช่นสิทธิตามสัญญาซื้อขาย สิทธิในการไถ่ถอนการขายฝาก เป็นต้น เมื่อบุคคลได้ถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินทุกอย่าง รวมทั้งที่มีในขณะนั้นถือว่าเป็นมรดกของบุคคลนั้นที่จะตกทอดไปยังลูกหลานหรือญาติสนิทที่เป็นทายาท เว้นแต่สิทธิบางอย่างซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัว ถือว่าสิทธินั้นเป็นอันสิ้นไปเมื่อบุคคลนั้นได้ตายไป ไม่ถือว่าเป็นมรดก
ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม
ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
ทายาทโดยธรรม หรือเรียกว่าทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีความผูกพันกับผู้ตายโดยความเป็นญาติหรือคู่สมรสหรือเป็นบุตร ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ 6 ลำดับ ได้แก่
ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม
บิดามารดา
พี่น้องร่วมบิดามารดา
พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือมารดา
ปู่ ย่า ตา ยาย
ลุง ป้า น้า อา
ผู้รับพินัยกรรม หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฎในพินัยกรรมที่เจ้าของมรดกมีเจตนายกทรัพย์ให้ ในกรณีที่ผู้ตายประสงค์ที่จะให้ญาติของตนแต่ละคนได้รับมรดกในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน หรือต้องการให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติมามีส่วนรับมรดกของตน หรือไม่ต้องการให้ญาติของตนคนใดมารับมรดกของตัวเอง ทำได้โดยการทำพินัยกรรมระบุไว้ว่าจะยกทรัพย์สินใดให้แก่ใครบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนี้ เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นวัด มูลนิธิ หรือโรงพยาบาลก็ได้
การทำพินัยกรรม
ในการทำพินัยกรรม จะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือพินัยกรรม ซึ่งมีแบบพิธีในการทำ 3 แบบดังนี้
พินัยกรรมธรรมดา เป็นหนังสือพินัยกรรมที่ลง วัน เดือน ปี ทีทำมีพยานรับรอง 2 คน และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อไว้ด้วย ถ้าลงเขียนหนังสือไม่ได้ให้ประทับตราหัวแม่มือขวาลงในพินัยกรรมแทนการลงชื่อ
พินัยกรรมเขียนเอง ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ แล้วลงชื่อ และวันเดือนปี ที่ทำพินัยกรรมด้วย
พินัยกรรมทำที่อำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปหานายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขตให้ทำพินัยกรรมให้ และต้องลงชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้นด้วยพร้อมพยานอีก 2 คน
ในการพินัยกรรมไม่ว่าจะเป็นแบบใดนั้น ผู้ทำพินัยกรรมจะสามารถยกเลิกเมื่อใดก็ได้ และพินัยกรรมจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเท่านั้น
***ที่มา http://mickkeyandmai.wordpress.com/กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตปร/กฎหมายเกี่ยวกับครอบครั/
ความรู้เกี่ยวกับการนับศักราช
การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมากนักประวัติศาสตร์จึงได้แบ่งเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคสมัยของมิติเวลา
ดังนี้
การนับศักราช
การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
พบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบุเป็นปีศักราช จุดเริ่มต้นของศักราชที่ 1
จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งโดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ
จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วยเพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ
มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น
ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ
ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้
1.การนับปีศักราชแบบสากล
1) คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี
ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น
ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)
2) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
ฮิจเราะห์ มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ
เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา
ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ
ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122
เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี
เมื่อเทียบกับพุทธศักราช
2.
การนับศักราชแบบไทย
1) พุทธศักราช (พ.ศ.)
เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน
พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น
พ.ศ. 1
2) มหาศักราช (ม.ศ.)
นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ
ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า
กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622
(มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)
3) จุลศักราช (จ.ศ.)
เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม
เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182
และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน
จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิกและมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก
(ร.ศ.) แทน
4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ.
2325
โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 6)
การเทียบศักราช
การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากลดังนั้น
การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน
จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้นตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน
ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง จึงต้องมีการเทียบศักราชจากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง
โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณี
หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้
พุทธศักราช
มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี
พุทธศักราช
มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
พุทธศักราช
มากกว่า จุลศักราช 1181 ปี
พุทธศักราช
มากกว่า
รัตนโกสินทร์ศก 2324 ปี
พุทธศักราช
มากกว่า
ฮิจเราะห์ศักราช 1122 ปี
การเทียบศักราชในระบบต่างๆ
สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นศักราชแบบเดียวกัน ได้ดังนี้
ม.ศ. + 621
= พ.ศ. พ.ศ.
– 621 = ม.ศ.
จ.ศ. + 1181
= พ.ศ. พ.ศ.
– 1181 = จ.ศ.
ร.ศ. + 2324
= พ.ศ. พ.ศ.
– 2324 = ร.ศ.
ค.ศ. + 543
= พ.ศ. พ.ศ.
– 543 = ค.ศ.
ฮ.ศ. + 1122
= พ.ศ. พ.ศ.
– 1122 = ฮ.ศ.
จาก พุทธศักราช เปลี่ยนเป็น
คริสต์ศักราช ให้นำ พ.ศ. ลบ 543 ตัวอย่างเช่น พ.ศ. 2549 เปลี่ยนเป็น
ค.ศ. โดยนำ 543
มาลบออก ( 2549 – 543 ) ปี ค.ศ. ที่ได้คือ 2006
จาก คริสต์ศักราช เปลี่ยนเป็น
พุทธศักราช ให้นำ ค.ศ. บวก 543 ตัวอย่างเช่น ค.ศ. 2004 เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ 543 มาบวก ( 2004 + 543 ) ปี พ.ศ. ที่ได้คือ 2547
จาก จุลศักราช เปลี่ยนเป็น
พุทธศักราช ให้นำ จ.ศ. บวก 1181 ตัวอย่างเช่น จ.ศ. 1130 เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ 1181 มาบวก ( 1130 + 1181
) ปี พ.ศ. ที่ได้คือ 2311
จาก รัตนโกสินทร์ศก เปลี่ยนเป็น
พุทธศักราช ให้นำ ร.ศ. บวก 2324 ตัวอย่างเช่น ร.ศ. 132 เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ 2324 มาบวก ( 123 + 2324 ) ปี พ.ศ. ที่ได้คือ 2456
การนับทศวรรษ ศตวรรษ
และสหัสวรรษ
ทศวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ 10 ปี
ศตวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ 100 ปี
สหัสวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ 1000 ปี
***ที่มา
http://www.learners.in.th/blogs/posts/533082
รายนามนายกรัฐมนตรีไทย
- นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร
- รักษาการนายกรัฐมนตรี, รักษาราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
- รัฐประหาร
หมายเหตุ
- พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เคยดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรระหว่างวันที่5 เมษายน พ.ศ. 2549 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากนายกรัฐมนตรีขอลาราชการเป็นการชั่วคราว
***ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/รายนามนายกรัฐมนตรีไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)